ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)
ห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart
Classroom)
หมายถึงห้องเรียน หรือแหล่งการเรียนรู้ที่จัดทำขึ้นในลักษณะพิเศษเฉพาะที่แตกต่างจากห้องเรียนโดยทั่วไป
เพื่อใช้สำหรับการเสริมสร้างประสบการณ์ทางการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการฝึกทักษะ
ความรู้ในด้านต่างๆ โดยมี จุดเน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนร่วมกันจากเทคโนโลยีที่หลากหลายทั้งสื่อในระบบภาพและเสียง
ก่อให้เกิดการเรียนทั้งในระบบชั้นเรียนปกติและนอกชั้นเรียนในการเรียนแบบทางไกลที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้
มีปฏิสัมพันธ์
และเกิดวิธีคิดตามกระบวนการสร้างองค์ความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์
อีกทั้งยังช่วยให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดแก้ปัญหา
การคิดเชิงสร้างสรรค์ และสามารถประมวลผลข้อมูลความรู้นั้นได้ด้วยตนเอง
พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร
และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น โดยทั้งหมดผู้สอนทาหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวก
ชี้แนะ และกระตุ้นในการจัดการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนเท่านั้น ดังนั้น ห้องเรียนอัจฉริยะจึงถือเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา
และเป็นการลดปัญหาความเหลื่อมล้าทางการศึกษา พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะต่างๆ
ที่จำเป็นสาหรับการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21
ห้องเรียนอัจฉริยะ
คือ ห้องเรียนที่มีการผสมผสานอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน โดยมีองค์ประกอบสำคัญ
คือ
1. ผู้สอนทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนรู้
2. ผู้เรียนทำหน้าที่สร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning)
4. โดยใช้ชุดเครื่องมือดิจิทัล
(Digital tool set) เช่น กระดานอัจฉริยะ หรือ อินเทอร์ แอ็คทิฟไวท์บอร์ด
(Interactive whiteboard) หรือ สมาร์ทบอร์ด (Smart
board) ระบบการฉาย ภาพ (Projector) ระบบบันทึกภาพระหว่างสอน
(Video capture system) อุปกรณ์ควบคุมการ จัดการชั้นเรียน (Classroom
control system) และเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งโต๊ะ พกพา
หรือ แท็บเล็ต เป็นต้น
เทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการจัดกิจกรรม
การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม ต้องคำนึงถึงประเด็นดังต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
หรือ ความต้องการของการเรียนรู้ที่ชัดเจน เป็นตัวกำหนด เทคโนโลยีที่ใช้บูรณาการกับการเรียนรู้
2.
เนื้อหา บทเรียน
และกิจกรรมการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และ ถูกต้องตามหลักวิชากร
มีระดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับระดับชั้น
3.
คุณภาพของสื่อดิจิทัลที่นำมาใช้ต้องพิจารณากับความถูกต้อง ชัดเจน
มีความเหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา รูปแบบการนำเสนอน่าสนใจและช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ชัดเจน
นอกจากนี้การใช้สื่อ เช่น บทเพลง ภาพหรือวิดีโอคลิป เป็นต้น ต้องคำนึงถึงลิขสิทธิ์การใช้งานด้วย
ห้องเรียนอัจฉริยะ เป็นการจัดสภาพห้องเรียนให้มีลักษณะตามมิติดังนี้
1.
S : Showing มิติของความสามารถในการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศในการเรียนการสอนผ่านสื่อ
เทคโนโลยีการสอน เป็นคุณลักษณะที่เรียกว่า “คุณลักษณะทางปัญญา ( Cognitive
Characteristic )
2.
M : Manageable มิติด้านความสามารถในเชิงบริหารจัดการ
ซึ่งคุณลักษณะดังกล่าวนี้เป็นการ บริหารจัดสื่อวัสดุอุปกรณ์การจัดระบบการสอนรวมทั้งแหล่งทรัพยากรและสภาพแวดล้อมของการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ
3.
A : Accessible มิติด้านความสามารถในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลทางการเรียนรู้จากการใช้ห้องเรียน
อัจฉริยะผ่านสื่อที่มีอยู่หลากหลาย
4.
R : Real-time Interactive มิติในเชิงปฏิสัมพันธ์ในการสร้างประสบการณ์ทางการเรียนการสอน
โดยครูรวมทั้งการเรียนรู้ผ่านสื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เชิงโต้ตอบในห้องเรียนอัจฉริยะดังกล่าว
5.
T : Testing มิติด้านการทดสอบ ซึ่งเป็นการตรวจสอบเชิงคุณภาพในการจัดกิจกรรมการเรียน
หรือการตรวจสอบพฤติกรรมทางการเรียนจากการใช้ห้องเรียนอัจฉริยะ พอสรุปได้ว่าห้องเรียนอัจฉริยะ
เป็นการจัดห้องเรียนให้มีสภาพที่สามารถ สนองตอบต่อการใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน
โดยนักเรียนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้เรียนรู้ด้วยตนเอง หรือเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน
สรุปองค์ความรู้นำเสนอ ทำแบบฝึกหัดทำ แบบทดสอบ และจัดเก็บ ข้อมูลไว้ในระบบตามที่ครูผู้สอนได้ออกแบบไว้
ประโยชน์ของห้องเรียนอัจฉริยะ
1.
เป็นการใช้ศักยภาพของเทคโนโลยีและการศึกษา ( Technology and
Education ) การจัดการเรียน การสอนในยุคใหม่ได้เปลี่ยนแปลง รูปแบบและกระบวนทัศน์ไปอย่างมากตามสภาพบริบทแวดล้อม
ซึ่งการเรียนในรูปแบบดั้งเดิมไม่อาจก้าวทำกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลความก้าวหน้าแห่งโลก
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาโดยรวม ดังนั้นการปรับกลยุทธ์ทางการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีรูปแบบต่างๆ
จึงมีความสำคัญและจำเป็นในการนำมาปรับและประยุกต์ใช้ตาม สภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น
2.
เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางการเรียน ( Learning
Paradigm Shift ) ความสำคัญใน ประเด็นดังกล่าวนี้จะเป็นการปรับรูปแบบมุมมองของการจัดการศึกษาจากวิธิีการแบบเดิมหรือแบบบรรยาย
ไปเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เป็นการสร้างรูปแบบทางการเรียนสำหรับผู้เรียนหรือ
สื่อการเรียนที่เหมาะสมกับบริบททางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ซึ่งการปรับเปลี่ยนเป็นห้องเรียนอัจฉริยะจะส่งผลต่อ
2.1
การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ( Problem Based Learning : PBL
)
2.2
การเรียนการสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ( Peer Instruction )
2.3
การเรียนการสอนแบบโครงงาน ( Project Based Instruction : PBI
)
3.
เพื่อจำแนกคัดกรองการใช้สื่อดิจิตอลระหว่างครูกับนักเรียน ( Digital
Divide between Educators and Students ) ห้องเรียนอัจฉริยะจะถูกกำหนดบทบาทของการใช้สื่อของผู้ใช้ได้ชัดเจนสนองต่อทักษะ
ความสามารถของผู้ใช้สื่อประเภทดิจิตอลที่มีอยู่ ซึ่งมีความแตกต่างกันในบางครั้งความแตกต่างเชิงทักษะ
ความรู้ของการใช้เทคโนโลยีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอนตาม
ไปด้วยจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ห้องเรียนอัจฉริยะจะเป็นแหล่งในการฝึกฝนทักษะให้เกิดความชำนาญในการใช้สื่อเทคโนโลยีไปด้วยในคราวเดียวกัน
เพื่อให้เกิดบรรยากาศทางการเรียนรู้แบบ Edutainment ซึ่งมีลักษณะของ
การเรียนแบบผ่อนคลายไม่เคร่งเครียดมากจนเกินไป
4.
เป็นการใช้เทคโนโลยีในชั้นเรียนเชิงปฏิสัมพันธ์ ( Interactive
Classroom Technologies ) การ จัดสร้างห้องเรียนอัจฉริยะเพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางการเรียนรู้เป็นมิติสำคัญที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น
โดย อิทธิพลของสื่อเทคโนโลยีซึ่งอาจประกอบไปด้วยสื่อหลักที่สำคัญ เช่น
4.1
การใช้กระดานไฟฟ้าแบบปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Whiteboard )
กระดานไฟฟ้าเชิง ปฏิสัมพันธ์หรือ Interactive Whiteboard เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการนา เสนอเนื้อหาสาระเหมือนกับการ ใช้สื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั่วๆ
ไป ซึ่งหน้าจอของกระดานไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะเป็นระบบหน้าจอที่ไวต่อการสัมผัส ( Touch
Sensitive )
4.2
ระบบตอบสนองเชิงปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Response Systems
) หรือเรียกระบบนี้ว่า Voting Systems ซึ่งสนองตอบการลงมติรับรองผลของผู้เรียนในด้านต่างๆ
มักใช้ร่วมกับโทรศัพท์แบบพกพา
(
Mobile
Phones ) รวมทั้งการส่งผ่านรหัสข้อความบนมือถือที่เรียกว่า SMS
เหล่านี้เป็นต้น สภาพการณ์ ดังกล่าวจะเป็นลักษณะของการเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
ซึ่งผู้เรียนจะร่วมกันเรียนรู้ในเนื้อหาสาระที่ กำหนด
4.3
ระบบการจัดเก็บข้อมูลนำเสนอ ( Captures Systems ) เป็นห้องเรียนเทคโนโลยีที่สร้าง หรือจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศเพื่อการนา
เสนอในการจัดการเรียนการสอน ทั้งในรูปแบบของสื่อภาพและเสียงเหล่านี้เป็นต้น
4.4
เป็นห้องเรียนเพื่อการใช้เทคโนโลยีแบบปฏิสัมพันธ์ ( Interactive
Classroom Technologies ) เป็นห้องเรียนที่นา เสนอสื่อสา
หรับช่วยเสริมหรือสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกัน เช่น การเรียนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน
หรือการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น
รูปแบบของห้องเรียนอัจฉริยะ
1.
Single Classroom Architectures เป็นการออกแบบที่มีลักษณะทางกายภาพที่จะเอื้อต่อการสร้าง
ประสบการณ์ให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้ช่วยยกระดับคุณภาพทางการเรียนรวมทั้งช่วยสร้าง
บรรยากาศทางการเรียนการสอนให้เกิดความสนุกสนานทั้งผู้เรียนกับผู้สอน เทคโนโลยีที่ใช้จะเป็นประเภท
สื่อมัลติมีเดียระบบเรียนรู้ด้วยตนเอง
เครื่องฉายและจอวีดิโอคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่รวมทั้งคอมพิวเตอร์ที่
ใช้ในการเรียนและการสอนหรือบรรยายของครูผู้สอน
ซึ่งปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักจะสร้างห้องเรียนอัจฉริยะใน ลักษณะที่กล่าวถึงนี้
2.
Scattered Classroom Architectures เป็นรูปแบบการกระจายความรู้ที่ยึดตามสภาพทางพื้นที่
ภูมิศาสตร์หรือที่อยู่อาศัยของผู้เรียนรายบุคคลที่แตกต่างกันเป็นประการสำคัญผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วย
ตนเองจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบบพกพาที่นักเรียนมีอยู่ครูและนักเรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์
ทางการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และเรียนผ่านห้องเรียนเสมือนด้วยระบบภาพและเสียง
การเรียนรูปแบบนี้ผู้เรียนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ทุกแห่งโดยการเชื่อมโยงอุปกรณ์ในชั้นเรียนอัจฉริยะด้วยระบบบังคับ
สัญญาณทางไกล ( Remote Distance ) เพื่อที่จะเรียนในสิ่งที่ต้องการโดยไม่จำเป็นต้องเรียนในชั้นเรียน
เป็น การเรียนแบบ Cyber University
3.
Point-to-Point , Two – classes Architectures เป็นรูปแบบที่สร้างขึ้นเพื่อการเชื่อมโยงการเรียน
ระหว่างห้องเรียนหลัก ( Local Classroom ) ที่ครูและนักเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน
อัจฉริยะร่วมกันและในขณะเดียวกันนี้ก็ส่งผ่านหรือถ่ายทอดประสบการณ์ทางการเรียนผ่านไปยังห้องเรียนทางไกลอีกแห่งหนึ่ง
( Remote Classroom ) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ประสบการณ์เดียวกันและเรียนร่วมกัน
เป็น รูปแบบห้องเรียนทางไกลที่นิยมกันในปัจจุบัน
4.
Multiple Classroom Architecture เป็นรูปแบบห้องเรียนอัจฉริยะที่สร้างขึ้นเพื่อสนองต่อการ
แสวงหาแหล่งข้อมูลทางการเรียนที่มีอยู่มากมายในยุคปัจจุบันเป็นลักษณะของห้องเรียนที่ผสมผสานการ
นำ เสนอจากห้องเรียนหลักไปสู่แหล่งต่างๆ ที่หลากหลายแห่งจากระบบเครือข่ายความเร็วสูงทางเว็บไซต์
หรืออินเทอร์เน็ต
กล่าวได้ว่าเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ที่เปิดกว้างในองค์ความรู้แพร่กระจายไปสู่ทั่วทุกมุมโลก
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระดานอัจฉริยะ
1. การแสดงสื่อเสมือนในลักษณะของสื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน
โดยใช้สื่อการเรียนรู้ ดิจิทัล (Learning Object)
2. การสร้างเกมการศึกษาหรือกิจกรรมของบทเรียน
(Lesson Activity) เพื่อจัดการเรียนรู้ ผ่านเกม (Game
Based Learning) ให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น
3. การสืบค้นข้อมูล
หรือใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านเบราเซอร์บนกระดานอัจฉริยะโดยตรง ทำให้สามารถเขียน วาด
สร้างข้อมูลเพิ่มเติมโดยมีข้อมูลประกอบ รวมถึงการลากวางภาพจากเว็บเข้าสู่ บทเรียนทันที
4. การนำเสนอแนวคิด
วิธีการ หรือ เนื้อหาการเรียนรู้ในรูปแบบวิดีโอ ซึ่งผู้สอนและผู้เรียน จะสามารถค้นหาวิดีโอคลิปจากยูทูปได้โดยตรง
รวมทั้งสามารถเพิ่ม และปรับขนาดของวิดีโอให้ สอดคล้องกับลักษณะงานหรือกิจกรรมที่ต้องการใช้
5.
การแสดงภาพ 3 มิติ
ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนในลักษณะของสื่อที่มีความใกล้เคียง กับสภาพจริงมากที่สุด
เป็นการเรียนรู้ในลักษณะของสื่อเสมือนจริง
6.
การบันทึกสิ่งที่นำเสนอบนสมาร์ทบอร์ดในลักษณะของสื่อดิจิทัล
รวมถึงกิจกรรมการ เรียนการสอน สามารถนำมาใช้อ้างอิง ทบทวน
หรือส่งต่อให้ผู้ที่ขาดเรียน ภายหลังจากการเรียนการ สอนในชั้นเรียน หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
และเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับการสร้าง บทเรียนออนไลน์ได้
เนื่องจาก
กระดานอัจฉริยะมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การใช้งาน แต่มีขนาดหน้าจอใหญ่ ในขณะที่ เครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตมีจุดเด่นคือ
พกพาง่าย สามารถใช้เป็นเครื่องมือเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น
จึงมีการนำกระดานอัจฉริยะกับเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตมาใช้งานร่วมกัน เพื่อ ขยายพื้นที่การทำกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน
ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งการเรียนรู้แบบรายบุคคลและการทำงานเป็นกลุ่ม
ด้วยการควบคุมการทำงานของกระดานอัจฉริยะผ่าน แอปพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต
เช่น การโหลดแอปพลิเคชันสมาร์ทโน้ตบุ๊ก (SMART Notebook Application) บนไอแพด หรือเรียกว่า สมาร์ทโน้ตบุ๊กมาเอสโตร (SMART Notebook
Maestro) (Smarttech, 2015a)
เอกสารอ้างอิง
ดาราวรรณ ทวีศักดิ์บวรกุล Smart
Classroom กับบริบทการศึกษาไทย http://www.ictc.doae.go.th
ประพันธ์
กาวิชัย. ห้องเรียนอัจฉริยะ http://www.lpn1.obec.go.th/super1/data/research/25580326_144452_1842.pdf
พรพรรณ ไวทยางกูร ชั้นเรียนในอนาคต Smart
Classroom กับบริบทการศึกษาไทย
http://www.touchphoneview.com
พันทิพา อมรฤทธิ์และคณะ ห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่21
http://www.obecittraining.com
ภูชิศ สถิตพงษ์. 2559.
ห้องเรียนอัจฉริยะ. วารสารวิจัยและพัฒนา ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ศุภณี เรียบเลิศหิรัญ
การออกแบบห้องเรียน Smart
Classroom และนวัตกรรม
การเรียนการสอน
http://www.stou.ac.th
สุรศักดิ์
ปาเฮ Smart
Classroom : ห้องเรียนอัจฉริยะ http://www.addkutec3.com
ห้องเรียนอัจฉริยะ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ www.facebook.com/PrachachatOnline ทวิตเตอร์ @prachachat http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404806897
ห้องเรียนอัจฉริยะ http://instruction-technical-concepts.blogspot.com/2014/05/smart- ห้องเรียนอัจฉริยะ classroom.html
, http://www.bangkokeducation.in.th/article-details.php?id=1743
เอื้ออารี ทองแก้ว จันทร. ห้องเรียนอัจฉริยะ http://www.satit.up.ac.th/primarysatit/document/.pdf
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น